วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ทำบุญง่าย ๆ ตามภาษาคน (ไม่ค่อย) มีเวลา

ทำบุญง่าย ๆ ตามภาษาคน  (ไม่ค่อย) มีเวลา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือบทสวดมนต์ไหว้พระ
โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

            พูดถึงเวลารับจะทำบุญ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง การตักบาตรพระหรือเข้าวัดทำบุญ เป็นส่วนมาก แต่ถ้าหากว่าเราไม่ค่อยมีเวลาตักบาตรพระหรือเข้าวัดทำบุญ ก็เลยเสียโอกาสในการ สะสมบุญของเรา
            วันนี้ จึงมีเรื่องเล่าให้ทุก ๆ คนได้อ่านพิจารณากัน เผื่อจะได้แง่มุมใหม่ ๆ ในการสร้างบุญสร้างกุศลสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือมีเวลาทำเป็นปกติอยู่แล้ว แต่มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยให้ได้อ่าน เพื่อจะได้เข้าใจว่า ถ้าเราทำอย่างที่บอกต่อไปนี้ เราจะได้อะไรบ้าง
            เชื่อว่าบ้านเราของทุกคนจะต้องมีหิ้งพระบูชาหรือโต๊ะหมู่บูชา แต่ถ้าไม่มีให้หารูปพระมาติดไว้ที่ผนังบ้านก็ได้ จากนั้นเราก็หาขัน หรือกระปุกออมสิน หรือพระบาตรพระพลาสติก (ที่ร้านสังฆทานจะมีขาย เป็นบาตรพลาสติกเจาะรูเหมือนกระปุกออมสิน) ทุกวันให้เราสละเวลาเพียงวันละประมาณ 20 – 30 นาที สวดมนต์ไว้พระเวลาไหนก็ได้ที่เราว่าง เราสบายใจ เช้า สาย บ่าย เย็น หรือก่อนนอน ก็ได้ โดยเริ่มสวดจากบท
            อิมินา   สักกาเรนะ       พุทธัง  อะภิปูชะยามิ
อิมินา   สักกาเรนะ       ธัมมัง   อะภิปูชะยามิ
อิมินา   สักกาเรนะ       สังฆัง  อะภิปูชะยามิ
            อะระหัง สัมมาสัมพุทธโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
            สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
            สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
ระหว่างที่ตั้งนะโม ก็ให้เราเอาเงินมาจบไว้ที่มือจะกี่บาทก็ได้ 5 บาท 10 บาท 20 บาท หรือจะมากกว่านั้นก็ได้ตามศรัทธา จากนั้นก็เริ่มสวด
พุทธัง              สะระณัง          คัจฉามิ
ธัมมัง               สะระณัง          คัจฉามิ
สังฆัง              สะระณัง          คัจฉามิ
ทุติยัมปิ            พุทธัง              สะระณัง          คัจฉามิ
ทุติยัมปิ            ธัมมัง               สะระณัง          คัจฉามิ
ทุติยัมปิ            สังฆัง              สะระณัง          คัจฉามิ
ตะติยัมปิ          พุทธัง              สะระณัง          คัจฉามิ
ตะติยัมปิ          ธัมมัง               สะระณัง          คัจฉามิ
ตะติยัมปิ          สังฆัง              สะระณัง          คัจฉามิ
ต่อจากนั้น ก็เริ่มสวด บทพระพุทธคุณ (อิติปิ โส ภะคะวา ฯลฯ) บทพระธรรมคุณ (สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโธ ฯลฯ) บทพระสังฆคุณ (สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ฯลฯ)
ถ้ามีเวลา ให้สวดบท พาหุง มหากา ฯลฯ ต่อ จบแล้วให้กลับมาสวด พระพุทธคุณ บทเดียว 9 จบ หรือเท่าอายุบวกหนึ่ง
ถ้าไม่มีเวลา ให้กลับมาสวดบท พระพุทธคุณ บทเดียว 9 จบ หรือเท่าอายุบวกหนึ่ง
ต่อจากนั้น ให้ตั้งสมาธิจิตสักระยะหนึ่ง แล้วอธิฐานจิต ๆ เสร็จ เอาเงินที่เราจบไว้ที่มือใส่เข้าไปในภาชนะที่เตรียมไว้ที่หิ้งพระหรือที่โต๊ะหมู่ เสร็จแล้วแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลทุกครั้งทำอย่างนี้ทุกวันอย่าให้ขาด

ถามว่าเราจะได้อะไรจากการปฏิบัติอย่างนี้
1.            ถามว่า : ขณะที่เราสวดมนต์อยู่นั้นเราสวดมนต์บูชาใคร
ตอบ : เราสวดมนต์บูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขณะที่สวดจิตเราก็น้อมอยู่กับคุณพระรัตนตรัย ขณะนั้นจิตเรามี พุทธานุสสติ, ธัมมานุสสติ, สังฆานุสสติ ได้แล้วกรรมฐาน 3 กอง
2.            ขณะที่สวดมนต์อยู่นั้นเราสวดมนต์ด้วยจิตที่มีอาการสำรวม มีความตั้งใจในการสวด
ถามว่า : อาการที่จิตสำรวม มีความตั้งใจในการสวดนั้น เป็นอาการของอะไร ?
ตอบ : เป็นอาการของสมาธิ ได้แล้วสมาธิเบื้องต้น
3.            ขณะที่สวดมนต์ด้วยจิตที่มีอาการสำรวม มีความตั้งใจ จิตของก็คอยนึกถึงระวังไม่ให้หลงลืมในบทสวด
ถามว่า : อาการที่คอยนึกถึง ระวังไม่ให้หลงลืมในบทสวดนั้นเป็นอาการของอะไร ?
ตอบ : เป็นอาการของสติ ได่ฝึกสติในการสวดมนต์ไปในตัว
4.            ขณะที่สวดมนต์เสร็จ ให้ตั้งจิตรเป็นสมาธิอธิฐานจิต เอาเงินที่จบใส่ลงไปในภาชนะที่ได้เตรียมไว้เป็น ทานบารมี อธิฐานบารมี ซึ่งก็วกมาเข้าเรื่องของบารมี 30 ทัศ
บารมี แปลว่าอะไร? ความดีที่ควรบำเพ็ญ ซึ่งประกอบด้วย
1. ทานบารมี                2. ศีลบารมี
3. เนกขัมมะบารมี       4. ปัญญาบารมี
5. วิริยะบารมี               6. ขันติบารมี
7. สัจจะบารมี              8. อธิษฐานบารมี
9. เมตตาบารมี             10. อุเบกขาบารมี
ถ้าจะถามว่า การที่เราสวดมนต์เพียงไม่กี่นาทีตรงนี้ เราจะได้บารมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ขณะที่เราสวดมนต์เสร็จเราทำทาน คือเอาเงินใส่ขัน ฯลฯ  เป็นทานบารมี
        2. ขณะที่เราสวดมนต์อยู่ในขณะนั้นเราไม่ได้ทำบาปกรรมกับใคร มีศีลอยู่ในขณะที่สวด เป็น ศีลบารมี
        3. ขณะที่เราสวดมนต์อยู่จิตเราปราศจากนิวรณ์มารบกวนใจ ถือว่าเป็นการบวชใจ เป็น เนกขัมมะบารมี
        4. ถ้าจะถามว่า การที่เราสวดมนต์ไหว้พระ เราทำด้วยความงมงายหรือไม่?
            ตอบ ไม่ ทำด้วยศรัทธา ทำด้วยปัญญาที่เห็นว่ามันเป็นประโยชน์ ช่วยฝึกจิตฝึกใจให้เกิดสติ มีสมาธิเป็น ปัญญาบารมี
         5. ถ้าเราไม่มีความเพียร เราก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องมีความเพียร วิริยะบารมี
         6. มีความเพียรแล้ว ไม่มีความอดทนความเพียรก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราต้องมีความอดทน ความอดทนเป็นขันติบารมี
         7. มีความเพียรมีความอดทนแล้ว แต่ขาดสัจจะในการกระทำ หมายถึง ความจริงใจในการประพฤติปฏิบัติความจริงใจเป็น สัจจะบารมี
         8. เมื่อเราสวดมนต์เสร็จทำสมาธิ ตั้งจิตอธิษฐาน การอธิษฐานเป็น อธิฐานบารมี
         9. ใส่บาตรเสร็จก็ต้องแผ่เมตตา เราต้องทำใจให้เป็นเมตตาไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งหลาย ทำใจให้เป็นพรหมวิหาร อุเบกขา วางเฉย อโหสิกรรม กับบุคคลที่เราได้เคยล่วงเกินกันมา ไม่โกรธใคร ไม่เกลียดใคร ไม่ชอบใคร ไม่ชังใคร ทำใจให้นิ่ง ทำจิตให้สงบเย็น วางจิตให้เป็นอุเบกขาเป็น อุเบกขาบารมี (คือ อุเบกขาที่ทรงด้วยพรหมวิหาร)
            เห็นไหมค่ะ เพียงแค่เราสวดมนต์เพียงไม่กี่นาทีต่อวัน เราก็ได้บารมีครบถ้วน และสิ่งเหล่านี้เองก็สะสมในใจของเราทีละเล็กละน้อย เหมือนเราเก็บเงินวันละ 10 บาท ก็ได้ 10 บาท แต่ถ้าเราไม่ทำอะไร เราก็จะไม่ได้อะไรเลย แล้วเงินที่เราหยอดทุกวันที่ได้จากการสวดมนต์ ก็เหมือนกับเราได้ใส่บาตรทุกวัน โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเมื่อมีโอกาสเข้าวัด เราก็เอาเงินนั้นแหละไปทำบุญ หยอดตู้บริจาค ซื้อของถวายพระสงฆ์ ได้ซองผ้าป่ามาก็เอาเงินที่เราสวดนั้นแหละใส่เข้าไปในซองผ้าป่า หากมีการสร้างพระ สร้างหนังสือธรรมะหรืออะไรต่าง ๆ ที่เป็นสาธารณะประโยชน์ก็เอาเงินที่เราหยอดกระปุกทุกวันนั้นแหละ ไปทำบุญ ได้อานิสงส์มากแล้วจิตของเราก็จะติดอยู่กับกุศลทุกวัน เมื่อถึงเวลามันก็จะรวมเข้าไปในจิตใจของเราเป็นหนึ่งเดียว
            มีหลายคนแนะนำให้ไปทำ ปรากฏว่า จิตมีสมาธิมากขึ้น มีสติดีขึ้น จากคนที่เคยใจร้อน ก็ทำให้จิตใจมีอารมณ์เยือกเย็นขึ้น หรือ เข้าวัด ถ้าท่านเห็นว่ามีประโยชน์ ก็พยายามเจริญศรัทธาให้มาก ปฏิบัติให้ได้ทุกวันแล้วท่านจะเห็นผลได้ในไม่ช้าอย่างแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย

By Hunny

            

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สวดมนต์เจริญเมตตา แก้ไขปัญหาชีวิต ขจัดโรค ขจัดเวรกับแก้ไขกรรมเก่า กลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี


คาถามหาเมตตาใหญ่ แก้ไขเวรกรรม
สวดมนต์เจริญเมตตา แก้ไขปัญหาชีวิต ขจัดโรค ขจัดเวรภัย แก้ไขกรรมเก่า 
กลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี


โอวาทธรรม พระวรคติธรรม สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เมตตา ธรรมะขจัดความมุ่งร้ายสลายเวรกรรม
“เมตตา เป็นเครื่องทำลายความมุ่งร้าย หรือความพยาบาทอย่างแน่นอน เมตตาจึงเป็นเหตุแห่งความเป็นสุขที่เห็นได้ชัด เป็นเหตุที่ควรสร้างให้มีขึ้นเพื่อทำให้ความทุกข์ลดน้อยหรือหมดสิ้นไป
การพยายามมองคนในแง่ดี ในแง่ที่น่าเห็นองเห็นใจ พยายามหาเหตุผลมาลบล้างความผิดพลาดบกพร่องของคนทั้งหลาย และการพยายามคิดว่าทุกคนเหมือนกัน  เป็นธาตุดินน้ำลมไฟอากาศด้วยกัน ไม่ควรจะถือเป็นเราเป็นเขา และเมื่อไม่ถือเป็นเราเป็นเขาแล้วก็ย่อมไม่มีการมุ่งร้ายต่อกัน เป็นธรรมดา ความปรารถนาดีต่อกันย่อมมีได้ง่าย และนั้นแหละเป็นทางนำมาซึ่งความลดน้อยของความทุกข์
การพยายามคิดให้เห็นความน่าสงสาร น่าเห็นใจของทุกชีวิตที่ต้องประสบผ่านทุกวันเวลา คือการอบรมเมตตา ไม่ว่าใครจะเป็นอย่างไรก็ตาม เรารู้ไม่รู้อย่างไรก็ตาม
เมื่อใครนั้นผ่านมาในสายตาเรา ให้ปรุงคิดเอาเองว่าเขาอาจจะกำลังมีทุกข์แสนสาหัส แม่พ่อลูกหลานอาจจะกำลังเจ็บหนัก เขาอาจจะกำลังขาดแคลนเงิน จนไม่มีจะซื้อข้าวปลาอาหาร เขาอาจจะอย่างนั้นอาจจะอย่างนี้ที่น่าสงสารน่าเห็นใจ ทั้งนั้นคิดเอาเองให้จริงจังจนสงสารเขา จนอยากจะช่วยเขาจนสลดสังเวช เห็นความเกิดเป็นความทุกข์
พยายามคิดเอาเองเช่นนี้ ทุกวัน ทุกเวลา แล้วเมตตาจะซาบซึ้งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจยิ่งขึ้นเป็นลำดับ”

เทวดาสวดมนต์เมตตาใหญ่ คัดย่อจากบันทึกคำบอกเล่า พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ จิตธมฺโม)
แม่ชีคนหนึ่งชื่อ แม่ชีทองก้อน ปาณเณร แม่ชีคนนี้เคยไปอยู่มาหลายสำนัก วันหนึ่งก็มาขออยู่ที่วัดของอาตมา อาตมาก็บอกว่า “โยม วัดนี้ไม่มีสำนักชี และไม่มีกุฏิชี แต่ถ้าโยมไม่กลัวผี ก็อยู่ห้องว่างบนศาลา มีห้องว่างอยู่ห้องหนึ่ง” แม่ชีก็ตกลงอยู่บนศาลา
อาตมาให้เดินจงกรม และนั่งปฏิบัติภาวนา หนึ่งเดือนผ่านไป โยมแม่ชีก็มาบอกอาตมาว่า “หลวงพ่อ ฉันจะลำบากเสียแล้ว” อาตมาถามว่า “ลำบากนี่เรื่องอะไร” แม่ชีบอกว่า “เทวดามารบกวน” อาตมาถามว่า “เทวดามารบกวนเรื่องอะไร” แม่ชีบอกว่า “เทวดามาชวนสวดมนต์” อาตมาบอกให้ถามเทวดาดูซิว่า “เทวดาอยู่ที่ไหนและมาชวนให้สวดมนต์เรื่องอะไร” แม่ชีก็ถามเทวดาอีก เทวดาก็บอกแม่ชีว่า มาอยู่ที่ต้นพิกุลข้างโบสถ์ เพราะโดนสาปมาจากสรวงสวรรค์ ซึ่งถูกทำโทษเพราะทำผิดประเวณีนางฟ้า จึงโดนสาปแล้วให้มาสถิตที่ต้นพิกุลเป็นเวลา 100 ปี จากนั้นก็บอกให้สวดมนต์บทเมตตาใหญ่ อาตมาถามแม่ชีว่า “ มาชวนสวดมนต์เวลาไหน” แม่ชีบอกว่า “มาชวนสวดมนต์เวลา 24.00 น. เทวดาจะมาเฝ้าพระพุทธเจ้า”
เทวดายังบอกเคล็ดลับอีกว่า ถ้าหากบ้านไหนมีเครื่องสักการะ บูชาพระพุทธรูป เปรียบเหมือนเป็นประติมากรรมแทนองค์พระพุทธเจ้าแล้ว และสวดมนต์ไหว้พระอยู่เป็นประจำ เทวดาก็จะมาสถิต เรียกว่า “เทพสถิต” แต่ถ้าหากบ้านไหนไม่มีเครื่องสักการบูชา ไม่สวดมนต์ไหว้พระ ก็เหมือนกับว่าไม่มีเทวดามาสถิต แล้วเทวดาบอกอีกว่า บ้านไหนเอาใจใส่สวดมนต์ไหว้พระ จะมีเทวดามาร่วมสวดมนต์ด้วย บ้านนั้นจะมีเทวดาไปอยู่คุ้มครองรักษาทั้งครอบครัว และยังบอกอีกว่า คนเรามีเทวดาประจำวันเกิดกันทุกคน ถ้าเทวดาวันเกิดออกไปเมื่อใด มักจะถึงกับความตาย ถ้าหากเทวดาองค์ต่อไปไม่รักษา
แม่ชีก้อนทองสวดมนต์ผ่านไป 1 ปี ก็มีความชำนาญจนสามารถพูดคุยกับเทวดาได้อย่างมีความคุ้นเคย และสามารถรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ทั้ง ๆ ที่แม่ชีก้อนทองอ่านหนังสือไม่ออกเลย
ในกาลต่อมาอาตมาก็ให้แม่ชีก้อนทองสวดมนต์ให้ฟัง อาตมาก็ไม่แน่ใจจึงไปหาซื้อตำราแถวเสาชิงช้า ถามหาบทสวดมนต์เมตตาใหญ่ เขาบอกว่าไม่มี อาตมาก็เลยไปหาท่านพระครูปลัดแห่งวัดสุทัศเทพวราราม ปัจจุบันเป็นเจ้าคุณไปแล้ว ท่านพระครูปลัดก็ให้ยืมหนังสือพุทธาภิเษก ฉบับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ค้นหาดูก็พบอยู่ที่บทต่อท้ายมหาพุทธาภิเษกนั้นเอง
ต่อมาเช้าวันหนึ่ง ต้นพิกุลเทพสถิตโค่นลงอย่างสนั่นหวั่นไหวโดยไม่มีลมพายุเลย อาตมาก็เดินไปดูสมุดบันทึกดูเหตุการณ์ทั้งหมดก็ครบกำหนด 100 ปี พอดี ที่เทวดาโดนสาปมาจากสวรรค์ และภายหลังแม่ชีก้อนทองก็มีสำนักชีอยู่ และแม่ชียังยืนยันก่อนตายว่า เป็นความจริงยังใช้ได้ที่เทวดาจะไปร่วมสวดมนต์ตามบ้านในเวลา 24.00 น.
เทวดายังบอกต่อไปอีกว่า บ้านไหนมีเครื่องสักการบูชาไม่สะอาด แล้วตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระ มีคนนอนเกะกะ เทวดาไม่เข้าไปร่วมสวดมนต์แน่นอน บ้านไหนหมั่นสวดมนต์ เทวดาจะมาร่วมสวดมนต์ทุกคืนและจะคุ้มครองรักษา


สวดมนต์จะได้ผลหรือไม่ อยู่ที่ตัวเรา
การสวดมนต์จะตัดกรรมตัดเวรของเราได้หรือไม่นั้น หัวใจอยู่ที่จิตและความมุ่งมั่นตั้งใจจริงของผู้สวดเป็นสำคัญ กล่าวคือ
1.      ผู้สวดต้องมีศรัทธา คือ ความเชื่อมั่นต่อคุณของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเชื่อมั่นว่าการสวดมนต์บทเมตตาหลวงนี้จะนำไปสู่การตัดเวรตัดกรรมได้จริง
2.        ต้องมีวิริยะ คือ ความเพียร มุ่งมั่นสวดด้วยความเต็มใจ ตั้งใจ ไม่ทำด้วยความเกียจคร้าน
3.        ต้องมีสติ คือ ความตื่นตัว รู้ตัวอยู่ทุกขณะที่สวด พยายามประคับประคองจิตให้อยู่กับบทสวดในทุกขณะ
4.             ต้องมีสมาธิ คือ พยายามรักษาจิตให้จดจ่ออยู่กับบทสวดอย่างต่อเนื่องตั่งแต่ต้นจนจบไม่เผลไผลให้เรื่องอื่นเข้ามาแทรกแซง
5.             ต้องใช้ปัญญาพิจารณาไปตามบทสวด ให้รู้ว่าแต่ละศัพท์แต่ละเนื้อความนั้นว่าด้วยเรื่องอะไร สามารถนำมาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์อย่างไร
บทสวดเมตตาหลวงนี้พระพุทธเจ้าตรัสมอบให้แก่พระภิกษุ สำหรับสวดบริกรรม เพื่อเป็นอุบายย้อมจิตให้คุ้นชินกับความเมตตาจิตที่มีเมตตา จะเป็นจิตที่อ่อนโยน เยือกเย็น ยิ่งเมื่อสวดบ่อย ๆ ทุกวัน ๆ จิตก็ยิ่งอ่อนโยน จิตอ่อนโยนมาก ๆ พลังแห่งเมตตาก็จะผลักดันให้กิเลสฝ่ายโทสะที่อยู่ในใจให้ถอยห่างออกไป ยิ่งเจริญเมตตามาก โทสะยิ่งลดน้อย ใจก็จะปลอดโปร่งมากขึ้น
พลังแห่งเมตตาเหมือนน้ำที่ฉ่ำเย็น เมื่อเราส่งไปสัมผัสกับผู้ใด เขาก็จะรู้สึกได้ถึงความฉ่ำเย็น ซึ่งมีผลทำให้จิตใจของผู้นั้นสงบเย็นด้วย และหากว่าเราส่งจิตที่มีเมตตานี้ให้แก้เจ้ากรรมนายเวรแล้วไซร้ เขาจะสัมผัสรับรู้ถึงความปรารถนาดี ความสงบเย็น ความเป็นมิตรของเรา ซึ่งมีผลทำให้ความอาฆาตแค้นในใจของเขาลดน้อยลง และพร้อมที่จะให้อภัยแก่เรา เมื่อเขายอมให้อภัย เวรกรรมระหว่างเขากับเราก็จะสิ้นสุดลง


ต้นกำเนิดของคาถามหาเมตตาใหญ่
คาถามหาเมตตาใหญ่ นี้ เป็นบทบันทึกเรื่องราวและบทพระธรรมเทศนาที่สำคัญตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ซึ่งถูกจารึกไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 31 หน้า 341 ชื่อ เมตตากถา มีเนื้อความโดยย่อว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ครั้งนั้น ได้ตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายให้ประชุมกันแล้วตรัสพระธรรมเทศนาโปรด พระธรรมเทศนาที่ยกขึ้นแสดงในครั้งนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเจริญเมตตากรรมฐานโดยในเบื้องต้นทรงแสดงอานิสงส์ของการแผ่เมตตาว่า ผู้เจริญเมตตาจะได้รับอนิสงส์มากมายถึง 11 ประการ จากนั้นจึงทรงจำแนกการแผ่เมตตาออกเป็น 3 ประเภท
1.      อโนธิสผรณา คือ การแผ่ไปโดยไม่เจาะจงผู้รับ แผ่ไปโดยไม่ระบุลักษณะผู้รับว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน เพศอะไรหรือมีลักษณะเป็นอย่างไร คือแผ่ไปโดยใช้คำกลาง ๆ ที่ครอบคลุมสัตว์ทุกประเภท เช่นคำว่า สัตตา (สัตว์ทั้งหลาย) ปาณา (สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย) ภูตา (สัตว์ที่เกิดมีแล้วทั้งหลาย)
2.  โอธิสผรณา คือ การแผ่ไปโดยเจาะจงผู้รับ แผ่ไปโดยระบุประเภท หรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้รับ เช่น ระบุว่าแผ่เมตตาให้มนุษย์ เทวดา เปรต อสุรกาย หรือสัตว์นรก เป็นชายหรือหญิง เป็นต้น
3.      การแผ่เมตตาไปในทิศทั้ง 10
จากนั้นจึงทรงแสดงคำแผ่เมตตาแต่ละประเภทโดยละเอียด และทรงเน้นย้ำให้พระภิกษุจดจำนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ความพิเศษของคาถาเมตตาใหญ่นี้ ก็คือ เป็นธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง โดยไม่มีเหตุต้องให้แสดง เช่น ไม่มีการพูดคุยหรือการสนทนาเกี่ยวกับการแผ่เมตตา ไม่มีผู้ทูลถาม เป็นต้น เพราะโดยส่วนมากการแสดงธรรมของพระพุทธองค์จะต้องมีเหตุการณ์ให้ต้องแสดง การที่ทรงยกขึ้นแสดงเองเช่นนี้ ย่อมเป็นพระธรรมเทศนาที่ทรงให้ความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง บทแผ่เมตตานี้เป็นบทแผ่เมตตาที่ยาวที่สุดในบรรดาบทแผ่เมตตาอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า มหาเมตตาใหญ่

เมตตาใหญ่มีหลายแบบ หลายชื่อเรียก
อาจารย์บางท่านที่มีความรู้เกี่ยวกับบาลี ก็จะแต่งเติมเสริมคำ หรือตัดทอนเนื้อหาบางส่วนตามความเห็น จึงทำให้บทสวดเมตตาหลวงของครูบาอาจารย์บางท่านแตกต่างจากเนื้อความในพระไตรปิฎกบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ยังได้ตั้งชื่อบทสวดที่ท่านดัดแปลงขึ้นมาใหม่นี้แตกต่างกันออกไป เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ เป็นเหตุให้บทสวดนี้มีชื่อเรียกว่าแตกต่างกันไป เช่น


          สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺโส) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ พระองค์ทรง นิพนธ์บทเมตตานี้ขึ้น เพื่อใช้ในงานพุทธาภิเษก ท่านเรียกบทนี้ว่า เมตตาพรหมวิหาร คาถา หรือ เมตตาพรหมวิหารภาวนาคาถา แปลว่า บทสวดว่าด้วยการเจริญพรหมวิหาร ธรรม คือ เมตตา มีเนื้อความตรงตามพระไตรปิฎกเกือบ 100%
          พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ซึ่งท่าน ได้มาจากเทวดาสอนแม่ชี แม่ชีนำมาบอกหลวงพ่ออีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อความตรงกับ ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺโส) แต่ท่านมักเรียกว่า เมตตาใหญ่, มหาเมตตาใหญ่ หรือ เมตตาครอบจักรวาล หมายถึง บทสวดที่แผ่เมตตาไปถึงสัตว์ทุกชีวิตทุกตัวตน ทั่วทั้งจักรวาลไม่มีจำกัด
          พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิงห์ สุนฺทโร) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ. นครราชสีมา ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่ขาว อาลโน แห่งวัดถ้ำกองเพลง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งหลวงปู่ขาวเองได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีกต่อหนึ่ง ฉบับนี้เรียกว่า เมตตาหลวง หรือ มหาเมตตาหลวง คำว่าหลวง แปลว่า ใหญ่ 
          บทสวดตามแบบฉบับของหลวงปู่มั่นนี้ จะมีความโดดเด่นแตกต่างจากพระไตรปิฎกค่อนข้างเยอะ เพราะท่านจะตัดคำบริบทต่าง ๆ เช่น ถ้อยคำที่เล่าถึงความเป็นมาของพระสูตร วิธีการเจริญเมตตา เหลือไว้แต่เฉพาะคำแผ่เมตตาที่เป็นคำบริกรรมเท่านั้น และเพิ่มบทสวดดแผ่กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เข้ามาอีก ซึ่งผู้สวดจะต้องสวดทั้งหมด 528 จบ คือ
          ส่วนแผ่เมตตา ให้กับสรรพสัตว์ 132 จบ
          ส่วนแผ่กรุณา ให้กับสรรพสัตว์ 132 จบ
          ส่วนแผ่มุทิตร ให้กับสรรพสัตว์ 132 จบ
          ส่วนแผ่อุเบกขา ให้กับสรรพสัตว์ 132 จบ
ซึ่งผู้สวดจะต้องใช้ความพยายามและความอดทนในการสวดอย่างมาก 


อานิสงส์ของการเจริญคาถามหาเมตตาใหญ่
อานิสงส์ของการแผ่เมตตา พระพุทธเจ้าแสดงไว้ 11 ประการคือ
     1. หลับเป็นสุข : คือการนอนหลับสบาย ไม่ฟุ้งซ่าน พลิกตัวไปมา
     2. ตื่นเป็นสุข : คือตื่นมาจิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่ง ไม่เซื่องซึมมึนหัว
     3. ไม่ฝันร้าย : คือ ฝันดี ฝันเห็นแต่สิ่งที่เป็นมงคล สิ่งที่ดีงาม
     4. เป็นที่รักของมนุษย์ : คือ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี จิตใจเบิกบาน ไม่โกรธง่าย มีเสน่ห์น่าเข้าใกล้
     5. เป็นที่รักของอมนุษย์ : คือ เป็นที่รักของสัตว์ดิรัจฉาน ภูตผีปีศาจ
     6. เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา : เทวดาช่วยเหลือบันดาลให้สมหวังในสิ่งที่ต้องการ และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขั้นให้ถอยห่าง
     7. ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่อาจทำร้ายได้
     8. เมื่อทำสมาธิ จิตจะสงบเร็ว
     9. ใบหน้าผ่องใส
     10. ไม่หลงตาย : คือ เมื่อถึงเวลาที่จะต้องตายก็ตายด้วยอาการสงบ มีสติ ไม่บ่นเพ้อ คร่ำครวญ ดิ้นทุรนทุราย
     11. ยังไม่บรรลุธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก : ธรรมเบื้องสูงในที่นี้ได้แก่ โลกุตรธรรม 9 ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ผู้ที่เจริญเมตตาถ้ายังไม่บรรลุธรรม 9 อย่างนี้ และสามารถเจริญเมตตากรรมฐานนี้จนจิตเป็นสมาธิเข้าถึงณานขั้นใดขั้นหนึ่งและเสียชีวิตลงขณะเข้าณานก็จะไปบังเกิดในพรหมโลกทันที 


ลำดับการสวดคาถามหาเมตตาใหญ่
          ในการสวดคาถาเมตตาใหญ่แต่ละครั้ง ผู้สวดพึงกระทำด้วยความตั้งใจจริง ไม่สักแต่ว่าทำ ให้ระลึกอยู่เสมอว่าเราทำเพื่อขออภัยขอโทษต่อเจ้ากรรมนายเวรที่เราเคยได้ล่วงเกินเขามา และการที่จะทำให้เขายอมอภัยแก่เรานั้น เราต้องทำด้วยความจริงใจ บริสุทธิ์ใจจริง ๆ เขาถึงจะเต็มใจให้อภัยและตัดเวรกรรมได้จริง เมื่อจะสวดควรตัดเรื่องกังวลต่าง ๆ ออกไปให้หมด ให้สำรวมกาย วาจาและใจ กราบพระ 3 ครั้ง ด้วยเบญจางคประดิษฐุ์ จากนั้นเริ่มสวดมนต์ไปตามลำดับ ดังนี้
          1. บทกราบพระรัตนตรัย 
          2. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
          3. บทไตรสรณคมน์ 
          4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
          5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ 
          6. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
          7. บทแผ่เมตตาให้ตนเอง 
          8. บทคาถามหาเมตตาใหญ่
          9. บทอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล 
          10. บทขออโหสิกรรมและอธิษฐานบุญ
          ขณะสวดมนต์ควรสวดด้วยน้ำเสียงที่ดังพอได้ยิน ชัดถ้อยชัดคำ ควรสวดด้วยจิตใจที่สงบ ไม่ต้องรีบเร่งให้จบโดยเร็ว แรก ๆ อาจจะสวดผิดบ้างถูกบ้าง ก็ไม่เป็นไร ไม่ถือว่าเป็นบาปติดตัว เพราะเราสวดด้วยจิตบริสุทธิ์มิได้เจตนาที่จะแกล้งทำเล่นอันเป็นการลบหลู่พระธรรมคำสอน เมื่อได้สวดบ่อย ๆ นานไปก็จะชำนาญเอง ปัญหาเรื่องการสวดผิด ๆ ถูก ๆ ก็จะหมดไป การสวดเบื้องต้นควรสวดคำแปลด้วย เพื่อจะได้เข้าใจในเนื้อหาของบทสวด เมื่อเข้าใจดีแล้วภายหลังจะไม่สวดคำแปลก็ได้

1. บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
สวาขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
คำแปล >
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สินเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม.
พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์

2.  บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
คำแปล >
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

3. บทไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
คำแปล >
                                                                ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง

4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
คำแปล >
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจารณะ, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า, เป็นครูสอนของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม, เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้

5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะโต ธัมโม สันทิฐิโก อะกาลิดา เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.
คำแปล >
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.

6.  บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ,
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ,
ญาญะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ,
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกสังโฆ,
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเณยโย, อัญชะลิกะระณีโย, อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ.
คำแปล >
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว, ปฏิบัติตรงแล้ว, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว, ปฏิบัติสมควรแล้ว, คือคู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงบุรุษได้ 8 บุรุษ นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา, เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี, เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

7. บทแผ่เมตตาให้ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ,                    ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ;
นิททุกโข โหมิ,                          ปราศจากความทุกข์ ;
อะเวโร โหมิ,                             ปราศจากเวร ;
อัพยาปัชโฌ โหมิ,                    ปราศจากอุปสรรคอันตรายและความเบียดเบียนทั้งปวง ;
อะนีโฆ โหมิ,                            ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ ;
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ.       มีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนอยู่เถิด ฯ
หมายเหตุ คำขีดเส้นใต้สำหรับผู้หญิงให้เปลี่ยนเป็น สุขิตา, นิททุกขา, อัพยาปัชฌา, อะนีฆา ตามลำดับ ส่วนคำแปลเหมือนกัน

8. บทคาถามหาเมตตาใหญ่
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระโข  ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ
ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา
คำแปล >
ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถีฯ ณ โอกาสนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิษุกทั้งหลาย พระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นได้ตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ) หวังได้แน่นอน (ที่จะได้รับ (อานิสงส์ 11 ประการ) ของเมตตาเจโตวิทมุตติ ที่ตนต้องเสพ (ทำให้ชำนาญ) แล้วทำให้เจริญขึ้นแล้ว ทำให้มากแล้วสั่งสม (ด้วยวสี 5 ประการ) ดีแล้ว ทำให้บังเกิดขึ้นด้วยดีแล้ว ฯ
--------------------
        
กะตะเม เอกาทะสะ ฯ สุขัง สุปะติ, สุขัง ปะฏิพุชฌะติ นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ, มนุสสานัง ปิโย โหติ, อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ, เทวะตา รักขันติ,นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ, ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ, มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติ, อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ, อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมะโลกูปะโค โหติ ฯ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขา ฯ
คำแปล >
อานิสงส์ 11 ประการ ของเมตตาเจโตวิมุตติ คืออะไรบ้าง
อานิสงส์ 11 ประการ คือ 1) นอนหลับเป็นสุข 2) ตื่นเป็นสุข 3)ไม่ฝันร้าย 4) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย 5) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย 6) เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา 7) ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกลาย (ในตัว) ของเขา 8)จิตเป็นสมาธิเร็ว 9) ผิวหน้าผ่องใส 10)ไม่หลงตาย 11) ยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลกฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติที่บุคคลปฏิบัติดีแล้ว ปรารภเสมอดีแล้วพึงหวังได้ อานิสงส์ 11 ประการนั้น ฯ
--------------------

อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตา เจโตวิมุตติ ฯ อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ กะตีหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตา เจโตวิมุตติ ฯ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
คำแปล >
                                เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปไม่เจาะจงบุคคล มีอยู่ ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มีอยู่ ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ มีอยู่ ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงบุคคล มีกี่อย่าง ?
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มีกี่อย่าง ?
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ มีกี่อย่าง ?
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงบุคคล มี 5 อย่าง ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มี 7 อย่าง ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ มี 10 อย่าง ฯ
--------------------
          8.1 การแผ่เมตตาโดยไม่เจาะจงผู้รับ
กะตะเหมิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตาเจโตวิมุตติ ฯ
1.)        สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ อัตตะภาวปะริยาปันนา อะเวรา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตาเจโตวิมุตติ ฯ
คำแปล >
                                เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงบุคคล มี 5 อย่างเป็นไฉน ฯ 5 อย่างนั้น คือ
1.)        ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
2.)        ขอปาณชาติทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
3.)        ขอภูตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
4.)        ขอบุคคลทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
5.)        ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปโดยไม่เจาะจงบุคคล มี 5 อย่าง ดังนี้
--------------------

           8.2 การแผ่เมตตาโดยเจาะจงผู้รับ
                                กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
1.)        สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
คำแปล >
                                เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มี 7 อย่างเป็นไฉน ? 7 อย่างนั้น คือ
1.)        ขอสตรีทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
2.)        ขอบุรุษทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
3.)        ขอผู้เป็นพระอริยะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
4.)        ขอผู้ไม่เป็นพระอริยะทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
5.)        ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
6.)        ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
7.)        ขอสัตว์วินิบาตทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปเจาะจงบุคคล มี 7 ดังนี้ ฯ

                     8.3 การแผ่เมตตาไปใน 10 ทิศ
                                8.1.1 แผ่ให้สัตว์ ทั้ง 10 ทิศ
                                กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
คำแปล >
          เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศ ด้วยอาการ 10 เป็นไฉน ? เป็นฉะนี้ คือ
          ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.2 แผ่ให้ปาณาชาติ ทั้ง 10 ทิศ
1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอให้ปาณาชาติทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.3 การแผ่เมตตาให้ภูต ทั้ง 10 ทิศ
1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอให้ภูตทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.4 แผ่ให้บุคคล ทั้ง 10 ทิศ
1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอให้บุคคลทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.5 แผ่ให้ผู้มีอัตภาพ ทั้ง 10
  1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
  2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
  3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
  4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
  5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
  6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
  7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
  8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
  9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
  10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะ ปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอให้ผู้มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.6 แผ่ให้เพศหญิง ทั้ง 10 ทิศ
1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอให้ผู้มีเพศหญิงทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.7 แผ่ให้เพศชาย ทั้ง 10 ทิศ
1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอให้ผู้มีเพศชายทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.8 แผ่ให้ผู้เป็นพระอริยะ ทั้ง 10 ทิศ
1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอพระอริยะทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.9 แผ่ให้ผู้ไม่ใช่พระอริยะ ทั้ง 10 ทิศ
          1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
          10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.10 แผ่ให้เทวดา ทั้ง 10 ทิศ
1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.11 แผ่ให้มนุษย์ ทั้ง 10 ทิศ
1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มนุสสา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
คำแปล >
                   ขอมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                                                                                           --------------------

                                8.1.12 แผ่ให้สัตว์วินิบาต ทั้ง 10 ทิศ
               1.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               2.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               3.)        สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               4.)        สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               5.)        สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               6.)        สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               7.)        สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               8.)        สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา  อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               9.)        สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               10.)    สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
               อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
คำแปล >
                   ขอสัตว์วินิบาตทั้งหลายทั้งปวง ที่อยู่ในทิศตะวันออก, ตะวันตก, เหนือ, ใต้, ตะวันตกเฉียงใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้, ทิศเบื้องล่างและทิศเบื้องบน จงอย่าได้มีเวรต่อกันและกัน จงอย่าเบียดเบียนกัน จงอย่ามีทุกข์ จงมีสุข รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
                  เมตตาเจโตวิมุตติที่แผ่ไปในทิศทั้ง 10 ดังนี้ฯ
                                                                                           --------------------

               สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ, อุปะฆาตัง วัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ, สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ, ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ, วิเหสัง วัชเชตวา อะวิเหสายะ, สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มาเวริโน, สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน, สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ อัฏฐหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตาฯ
               ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ เจโตฯ สัพพะพยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ วิมุตติ ฯ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
คำแปล >
                   ผู้เจริญแผ่เมตตาความรักไปสู่สัตว์ทั้งการด้วยอาการ 8 นี้ คือด้วยการเว้นการบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยเว้นการฆ่าสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑, ด้วยการเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๑, ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑, ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑, จงเป็นผู้มีสุข ไม่มีทุกข์ ๑,จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑, เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เมตตาฯ
                  จิตคิดถึงธรรมนั้น จึงชื่อว่า เจโตฯ จิตหลุดพ้นจากพยาบาทและกิเลสที่กลุ้มรุมจิตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิมุตติฯ จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุตติ เพราะฉนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติฯ

                                                                                           --------------------

9. บทอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล
อิมานิ ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชแห่งบุญกุศลที่เกิดจากการไหว้พระ สวดมนต์พระคาถามหาเมตตาสูตร ทำสมาธิภาวนาในวันนี้ ตลอดจนบุญกุศลใด ๆ ที่ข้าพเจ้าได้สร้างสมมาในอดีตชาติ ชาตินี้ และชาติปัจจุบัน ไม่ว่าจะเกิดประโยชน์ เกิดความสุข ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรือง แก้ข้าพระพุทธเจ้าเองเท่าใด
ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า พระอรหันตสาวกทุกองค์ พระอริยะบุคคลทั้งหมด ขอโปรดค้ำชู และอุดหนุนคุณมารดาบิดา อุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้มีหระคุณทุกท่านที่ล่วงลับไปแล้วและยังมีชีวิตอยู่ ที่มีความผูกพันต่อชีวิตของข้าพระพุทธเจ้าทั้งในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติ ตลอดทั้งขอได้โปรดคุ้มครองให้ทุกคนในครอบครัว มิตรรักสนิทกัน ศัตรูหมู่มาร บริวาร และทหาร ตำรวจชายแดนที่ดูแลประเทศชาติ คณะรัฐบาล ฝ่ายค้าน ผู้ที่กระทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสาราสัตว์น้อยใหญ่ที่เสียสละชีวิตให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าได้กิน เพื่อการดำรงชิวิตของข้าพระพุทธเจ้า ขอให้ท่านทั้งหลายทั้งหมดหลุดพ้นจากความทุกข์ ประสบแต่ความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปตลอดไป
ขออุทิศส่วนกุศลไปถึงเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งหมด ไม่ว่าเกิดแล้วก็ดี ยังเป็นวิญญาณล่องลอยก็ดี ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะทางตรง ทางอ้อมทุกภพชาติและชาตินี้ก็ดี ทั้งเจตนาและไม่เจตนา ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งหมดได้โปรดมาอนุโมทนา และเมื่ออนุโมทนาแล้วขอได้โปรดอโหสิกรรมโทษทั้งหลายเหล่านั้นให้แก้ข้าพระพุทธเจ้าด้วย

10. บทขออโหสิกรรมและอธิษฐานบุญ
ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมอันใดที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินแล้ว ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี เจตนาก็ดี มิได้เจตนาก็ดี ในชาติก่อนก็ดี ในชาตินี้ก็ดี ทั้งที่เป็นมนุษย์ก็ดี เทพเทวดาก็ดี พระพรหมก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี สัตว์นรกก็ดี เปรตก็ดี อสุรกายก็ดี พระภูมิเจ้าที่ ภูตผีปีศาจ ดวงจิตวิญญาณทั้งหลายก็ดี ทั้งที่ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร 31 ภูมิ เสวยสุขอยู่ก็ดี เสวยทุกข์อยู่ก็ดี ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า เพิ่มพูนทานบารีแก่ตน อย่าได้มีเวรต่อกันอีกเลย
และกรรมใด ๆ ที่ใคร ๆ ได้ล่วงเกินแล้วแก่ข้าพเจ้า ทั้งทางกายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ทั้งที่ได้ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ไม่ว่าจะในชาตินี้หรือชาติไหน ๆ ก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ท่านเหล่านั้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรมีกรรมต่อกัน
ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้า ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดวงศาคณาญาติ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ และผู้มีอุปการคุณทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีแต่ความสุข ความเจริญ ปฏิบัติสิ่งใดที่เป็นไปในทางที่ชอบประกอบด้วยธรรม ขอจงสำเร็จผลดังปรารถนาต้องการ เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในเร็ววันด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือ สวดมนต์พุทธฤทธิ์ ชีวิตมงคล
 โดยสำนักพิมพ์ เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์(WWW.LC2U.COM)
ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนศุกลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร